เมนู

บทว่า กตภณฺฑํ มีความว่า ขนเจียมที่เขาทำเป็นสิ่งของ มีผ้า
กัมพล พรม และสันถัตเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่สุดแม้เพียงมัด
ด้วยเส้นด้าย. อนึ่ง ภิกษุใด สอดขนเจียมลงในระหว่างถลกบาตรบาง ๆ
ก็ดี ในหลืบผ้ารัดเข่า ผ้าอังสะ และประคดเอวเป็นต้นก็ดี ในฝักมีด เพื่อ
ป้องกันสนิมกรรไกรเป็นต้นก็ดี โดยที่สุดอาพาธเป็นลม ยอนขนเจียมไว้
แม้ในช่องหูแล้วเดินไปเป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นเหมือนกัน, แต่ขนเจียมที่มัด
ด้วยด้ายใส่ไว้ (ในระหว่างรองเท้าและถลกบาตรเป็นต้น) ย่อมตั้งอยู่ใน
ฐานะแห่งขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของ. ภิกษุทำให้เป็นช้องผมแล้วนำไป, นี้
ชื่อว่าทางเลี่ยงเก็บ, เป็นอาบัติเหมือนกัน. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น เอฬกโลมสิกขาบทนี้ ชื่อว่าเอฬกโลม-
สมุฏฐาน (มีขนเจียมเป็นสมุฏฐาน) ย่อมเกิดขึ้น ทางกาย 1 ทางกายกับ
จิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม
มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
เอฬกโลมสิกขาบทที่ 6 จบ

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 7
เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[101] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโคร-
ธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ แถบสักกชนบท ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์
ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม ภิกษุณีทั้งหลายมัว